วันที่ 23 มิถุนายน 2566 เวลา 9.30 น ณ ห้องประชุม มังคลอุบล ตึกอธิการบดี นายสมควร จันทร์แดง ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี นายชวลิต ครองสิน ประธานกิตติมศักดิ์ นายอรรถพล อรุโณรส รองประธานฯ นางสาวสุจินต์ ธำรงค์เทพพิทักษ์ เลขาธิการสภาฯ ดร.วิทูร เจียมจิตต์ตรง ดร.มาลัย ชมภูกา ดร.วารินทร์ ชลหาญ ที่ปรึกษาสภาฯ นายเทิดศักดิ์ วิสุทธิแพทย์ นายพสุเชษฐ์ โฆษิตสกุล กรรมการสภาฯ ได้ร่วมประชุมสองฝ่ายกับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี นำโดย รศ.ดร.กฤษณ์ชนม์ ภูมิกิตติพิชญ์ รองอธิการบดี และผู้บริหารมหาวิทยาลัยท่าน เช่น นายวิรัช โหตระไวศยะ รศ.ดร.สุมนมาลย์ เนียมหลางผศ.ดร.พงศ์พิชญ์ ต่วนภูษา รองอธิการบดี และ ผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ แสงประดิษฐ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และคณาจารย์ของทางมหาวิทยาลัย ประชุมร่วมกันเพื่อหารือกรอบความร่วมมือ(MOU) และส่งเสริมการจัดตั้ง RMUTT INNOVATIVE STARTUP PARK
คณะผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี ตระหนักดีว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี เป็นมหาวิทยาลัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนากำลังคนป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมของจังหวัดปทุมธานี ทั้งสองฝ่ายจึงหารือกรอบความร่วมมือกันดังต่อไปนี้
1.โครงการจัดอบรมที่จำเป็นต่อภาคอุตสาหกรรมและตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งสองฝ่ายยินดีร่วมเป็นพันธมิตรทางวิชาการ เพื่อจัดอบรมตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและที่กฎหมายกำหนด โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันสนุบสนุน วิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณสมบัติ หรือมีประกาศณียบัตร ตามที่ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือตามที่กฎหมายกำหนด สถานที่ในการฝึกอบรม วัสดุที่จะใช้ในการฝึกอบรม และออกประกาศณียบัตรให้แก่ผู้ผ่านการอบรม
2.โครงการ ซีเอ็นซีและหุ่นยนต์รีโทรฟิต เพื่อให้ผู้ประกอบการมีเครื่องจักรซีเอ็นซี และหุ่นยนต์อุตสาหกรรม คุณภาพดี ใช้งานในราคาที่ไม่แพง สามารถซ่อมบำรุงเองได้ ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะจัดการอบรมซีเอ็นซีและหุ่นยนต์รีโทรฟิต ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ภาคอุตสาหกรรม ร่วมกันสร้าง System Integrator เพื่อให้เกิดการบริการทางอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้าง ECO System เพื่อให้เกิดการส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านนี้อย่างจริงจัง ทั้งจากภาคเอกชน และภาครัฐ
3.โครงการ RMUTT INNOVATIVE STARTUP PARK เพื่อให้เกิด ECO System ในการสร้างนักธุรกิจรุ่นใหม่ ทั้งนักศึกษาของทางมหาวิทยาลัย และผู้ประกอบการหน้าใหม่ ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมกันสนับสนุนบุคลากร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ การประสานงานกับเครือข่ายและความร่วมมือกับเครือข่าย เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของโครงการ รวมถึงการผลักดันให้เกิด RMUTT INNOVATIVE STARTUP PARK มีทรัพยากรที่พร้อมบริการสำหรับการเริ่มธุรกิจใหม่ในราคาที่ไม่แพง ร่วมกันจัดหางบประมาณทั้งจากภาคเอกชนและภาครัฐ เช่น งบบริจาคจากภาคเอกชนลดหย่อนภาษีเงินได้ งบประมาณจากจังหวัดปทุมธานี งบจากลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล งบประมาณจากกองทุนต่างๆ หรือจากหน่วยงานอื่นๆ ที่สามารถให้การสนับสนุน
4.ผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ตามความต้องการของอุตสาหกรรม ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมกันสนับสนุนการเรียนการสอนของทางมหาวิทยาลัย ร่วมกันพัฒนาหลักสูตร ให้ความเห็นที่สำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตร จัดหาแหล่งฝึกงาน หรือโครงงานวิศวกรรม สำนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฝึกงานของนักศึกษา บางส่วน หรือเต็มตจำนวน เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถตรงกับความต้องการ หลังจบการศึกษาสามารถมีงานทำได้อย่างรวดเร็ว
5.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ Up Skill และ Re Skill ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมกันแชร์ทรัพยาการจากทางมหาวิทยาลัย เครือข่ายอุตสาหกรรม วิทยากร สถานที่จัดประชุม วัสดุในการอบรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมเครือข่ายสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี ตามความต้องการของภาคอุตสาหกรม
6.สนับสนุนการใช้ทรัพยากรของทั้งสองฝ่ายร่วมกัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สนับสนุนการใช้ห้องประชุม สถานที่ในการจัดประชุม หรือ สำนักงาน แก่ทางสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน พบปะหารือสะดวกรวดเร็ว ในราคาพิเศษ
หลังจากได้ข้อสรุปกรอบความร่วมมือแล้วทั้งสองฝ่ายจะต้องนำกลับไปดำเนินการตามขั้นตอน กฏหมาย หรือระเบียบของแต่ละฝ่ายและกำหนดวันลงนามเอกสารความร่วมมือต่อไป