วันที่ 7 กรกฏาคม 2566 เวลา 9.30 น ณ ห้องณ โรงภาพยนตร์ ชั้น 2 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี นายสมควร จันทร์แดง ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี คุณนพรัตน์ กุลหิรัญ ประธานกิตติมศักดิ์ นายอรรถพล อรุโณรส นายสวัสดิวงศ์ พิชัยสวัสดิ์ รองประธานฯ นางสาวสุจินต์ ธำรงค์เทพพิทักษ์ เลขาธิการสภาฯ ดร.วิทูร เจียมจิตต์ตรง ดร.วารินทร์ ชลหาญ ที่ปรึกษาสภาฯ นายเทิดศักดิ์ วิสุทธิแพทย์ นายพสุเชษฐ์ โฆษิตสกุล กรรมการสภาฯ ร่วมงาน โดยมีนายวิรัช โหตระไวศยะ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกล่าวเปิดงาน และ ผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ แสงประดิษฐ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ให้การต้อนรับคณะของสภาฯ และประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานีได้บรรยายพิศษหัวข้อ “โอกาสการพัฒนาและสร้างคนตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม”เป็นเวลา 10 นาทีในช่วงพิธิเปิดกิจกรรม มีความว่า
“กราบเรียนท่านรองอธิการบดี ท่านวิรัช โหตระไวศยะ คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานีและที่ปรึกษา ท่านคณบดี ท่านผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา คณาจารย์ ว่าที่นักธุรกิจรุ่นใหม่ และผู้เข้าร่วมงานทุกท่าน
สภาอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาร่วมงานในวันนี้ ได้มีโอกาสมาพบเจอกับ คณาจารย์ วิทยากร คณะกรรมการ ที่กำลังบ่มเพาะ สร้าง ECO SYSTEM เพื่อสร้างนักธุรกิจรุ่นใหม่ สร้างโอกาสให้กับนักศึกษาที่มีความต้องการดำเนินธุรกิจให้ทำได้โดยสะดวกขึ้นอย่างมาก
และมีความรู้สึกภูมิใจ ที่กำลังจะได้มีส่วนร่วมในการผลักดันโครงการ RMUTT INNOVATIVE STARTUP PARK เพื่อสร้างคน สร้าง ECO SYSTEM ให้การเริ่มธุรกิจใหม่ของน้องๆ เป็นไปอย่างมีระบบ มีพี่เลี้ยงที่มีความรู้และมีความสามารถสูง มีเครื่องไม้เครื่องมือ มีสถานที่ มีกลไกลการสนับสนุน มีกำลังการผลิตในเครือข่ายของสภาอุตสาหกรรมคอยสนับสนุน มีความช่วยเหลือทั้งจากภาครัฐและจากภาเอกชน อย่างเป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้นี้
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นมหาวิทยาลัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี บ้านของพวกเรา อุดมไปด้วยคณาจารย์คุณภาพสูงที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นทั้งในและต่างประเทศอยู่เป็นจำนวนมาก มีงานวิจัยคุณภาพสูงเป็นจำนวนมาก โดย ในปี 2021 กูเกิ้ล สกอร์ล่า(google scholar) จัดอันดับการอ้างอิงผลงานทางวิชาการ ให้มหาวิทยาลัย มีอันดับที่ 1 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่ง เป็นอันดับที่ 2 จากมหาวิทยาลัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ และเป็นอันดับที่ 14 จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ
และในปีเดียวกัน ยังมีงานวิจัยในระดับมาตรฐานสากล ที่สามารถสืบค้นบนฐานข้อมูล สคอร์ปัส (Scorpus) สูงถึง 300 งานวิจัย ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นมหาวิทยาลัยที่มีผลงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลสูงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ
ยังไม่พอเท่านั้นครับ ผลงานวิจัยโดดเด่น และนำไปต่อยอดทางพาณิชย์ ก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่นในเวทีงาน International Exhibition of Inventions Geneva 2023 ล่าสุดที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยสามารถคว้ารางวัล ผลงานวิจัยเด่น ได้ถึง 7 ผลงาน และในงานเดียวกัน จากการประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ และนวัตกรรม ทางมหาวิทยาลัย ยังได้รับรางวัลอีก ถึง 9 รางวัล
และยังพบว่า เอกสารเผยแพร่ธรรมเนียบงานวิจัยและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ได้แสดงผลงานอีกกว่า 220 ผลงาน เอกสารเผยแพร่ทำเนียบทรัพย์สินทางปัญหา ได้แสดงผลงานอีกถึง 226 ผลงาน ที่สามารถเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของจังหวัดปทุมธานี
จากที่กระผมได้กล่าวมา ทำให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี มีความพร้อมทั้งด้านบุคลากร และทรัพยากร ที่สามารถต่อยอดในทางพาณิชย์ อยู่อย่างมากมาย
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัย มีนักศึกษา กำลังศึกษาในทุกระดับรวมกันกว่า 27,800 ราย มีผู้สำเร็จการศึกษาในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 5,000 ราย การผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว การแข่งขันที่ไร้ขอบเขตพรมแดนกั้น เป็นสิ่งที่ท้าทายมากของมหาวิทยาลัย
ในนักศึกษา 5,000 รายที่สำเร็จการศึกษา อาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่
กลุ่มแรก คือกลุ่มที่จะเข้าสู่ภาคธุรกิจการค้า ภาคการผลิต กลุ่มนี้คาดว่าน่าจะมีมากที่สุด สูงถึง 80% ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ท้าทายของทางมหาวิทยาลัย ในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน
แต่กลุ่มที่ผมจะพูดถึงในวันนี้ และก็คือน้องๆ ทุกคนที่นั่งอยู่ในที่นี่ คือกลุ่ม 20% ที่มาร่วมงานวันนี้ และไม่ได้มาร่วมงานในวันนี้ ที่มีความพิเศษ มีความต้องการที่จะสร้างอาณาจักรทางธุรกิจเป็นของตนเอง โดยถ้าคิดจากตัวเลขคร่าวๆ คาดว่าในแต่ละปี มีไม่น้อยกว่า 1,000 ราย ผลลองคำนวณ คร่าวๆ ว่าถ้าน้องๆ 1,000 รายนี้ สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจและสามารถมีสร้างยอดธุรกิจได้รายละ 1,000,0000 บาท นั้นหมายถึง จังหวัดปทุมธานีของพวกเรานั้นจะมีเม็ดเงินไหล่เข้ามาเพิ่มในเศรษฐกิจ ไม่น้อยไปกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี
และถ้าผมคาดหวังต่อว่าใน 1,000 พันราย มี 100 ราย ที่สามารถสร้างยอดธุรกิจ 10,000,000 ล้านบาทต่อปี
และยิ่งกว่านั้น ใน 100 ราย หากมีสัก 10 รายที่สามารถสร้างยอดธุรกิจได้ปีละ 100,000,000 ล้านบาท
หากจิตนาการของผมเป็นจริง นั้นหมายความว่าระบบเศรษฐกิจของจังหวัดปทุมธานีจะมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้นปีละไม่น้อยไปกว่า 2,000 – 3,000 พันล้านบาท เม็ดเงินเหล่านี้จะหมุนอยู่ในเศรษฐกิจหลายรอบ สร้างมูลค่ารวมทางเศรษฐกิจของปทุมธานีไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี
ทั้งหมดนี่ย่อมไม่ใช่ความฝัน หากแต่สามารถเกิดขึ้นได้จริงด้วยการสร้าง ECO SYSTEM ที่เอื้อต่อการเกิดขึ้นของนักธุรกิจรุ่นใหม่ และความร่วมมือจากพลังการผลิต พลังการตลาด ของนักธุรกิจปัจจุบัน
ดังนั้นการสร้าง ECO SYSTEM ที่เอื้อต่อการเกิดขึ้นของนักธุรกิจรุ่นใหม่ มิได้หมายความว่าเราจะสร้างนักธุรกิจรุ่นใหม่ ให้เติบโตกลายเป็นเจ้าของอาณาจักรธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ โดยตัวเขาแต่ลำพังเท่านั้น หากอยู่ที่การสร้าง ECO SYSTEM ให้กิดความลงตัว เกิดความร่วมมือ ระหว่างนักธุรกิจรุ่นใหม่ และนักธุรกิจปัจจุบัน สามารถทำงานร่วมกัน สร้างผลผลิตร่วมกัน ประสบความสำเร็จทางการตลาดร่วมกัน
การจะเกิดสิ่งนี้ได้ มหาวิทยาลัยไม่อาจเดินหน้าผลิตบัณฑิตกลุ่ม 20% นี้ได้โดยลำพัง ต้องเริ่มที่การทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่การร่างหลักสูตร ปรับปรุงหลักสูตร ที่สามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริง สร้างบรรยากาศทางนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ สร้างกิจกรรมกระตุ้นความอยากจะเป็นผู้ประกอบการของว่าที่นักธุรกิจรุ่นใหม่ ตั้งแต่พวกเขายังเป็นนักศึกษา
มหาวิทยาลัย และภาคอุตสาหกรรม ต้องร่วมกันค้นหา ว่านักธุรกิจรุ่นใหม่ จะเข้ามาเสริมสร้างความแข็งแรงของธุรกิจปัจจุบันได้อย่างไร แล้วจึงสร้าง ECO SYSTEM ให้ทั้งสองฝ่ายได้แชร์ศักยภาพร่วมกัน
เช่น มหาวิทยาลัยมีสิทธิบัตรด้านชีวภาพที่สามารถเปลี่ยนเป็นสินค้าทางพาณิชย์ได้ นักธุรกิจรุ่นใหม่ ก็มีพลังทางสมอง มีความรู้ในสินค้าตัวนั้น มีพลังทางการติดต่อสื่อสาร มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ เชื่อมโยง ภาคการตลาด ภาคการผลิต ภาคโลจิสติก ให้เกิดการประสานกันแบบไร้ลอยต่อ เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างพลังใหม่และพลังปัจจุบัน ภายใต้ ECO SYSTEM เสมือนหนึ่งเป็นธุรกิจเดียวกัน ที่นักธุรกิจใหม่ ไม่ต้องแบกรับภาระการเริ่มธุรกิจที่สูงเกินไป ไม่ต้องตั้งไลน์การผลิตที่ต้องลงทุนด้วยเงินมหาศาล มีสถานที่ Co-Working Space มีแฟกซิลิตี้แบบสำนักงาน มีห้องประชุม พบปะลูกค้า พูดคุยกับซัพพลายเชน(Supply Chain) มีการสนับสนุนการฝึกอบรมทางธุรกิจ มีแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินที่เข้าถึงไม่ยากเกินไป
เมื่อเป็นเช่นนี้ บัณฑิต 20% หรือ 1,000 ราย นี้ย่อมเป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรม แต่มิใช่ในฐานะลูกจ้าง แต่ในฐานะหุ้นส่วนทางการค้า ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของ ห่วงโซ่อุปทาน(Supply Chain) ที่ทรงพลัง มิได้แข่งขันกันเอง แต่เป็นการร่วมมือกันสร้างอาณาจักรทางธุรกิจที่ลงตัวกันทุกฝ่าย
เป็นเวลากว่า 50 ปี ตั้งแต่ประเทศไทยเรามีการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เราผลักบัณฑิตจบใหม่ 100% เข้าสู่ตลาดแรงงาน กลายเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ ทั้งๆ ที่นักศึกษาจำนวนมากของประเทศ มีศักยภาพ มีความฝัน มีความทะเยอทะยานที่ไปได้ไกลกว่านั้น
ทั้งหมดนี้ผมคงมิได้ฝันไป หากแต่สามารถเกิดขึ้นได้จริง และเกิดขึ้นที่นี้ ปทุมธานี บ้านของเรา
ในนามของ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี กระผมต้องขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ สภาฯ เราร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเดินทาง ที่จะเขียนหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ ของการศึกษาไทยครับ”
นอกจากนี้ในงานวันดังกล่าวมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ start up ที่น่าสนใจของนักศึกษารวมถึงผลงานนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย มากมาย โครงการการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ (Innovative Startup)
ตอยอดแนวความคิด สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย ไปสู่ฃเชิงพาณิชย์ กิจกรรม Pitching มีเงินรางวัลทั้งสิ้น 500,000 บาท โดยแบ่งออกเป็น 10 รางวัล จะเป็นของทีมที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการ