วันที่ 11 กรกฏาคม 2566 เวลา 13.30 น ณ สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) นายสมควร จันทร์แดง ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมสภาอุตสาหกรรมภาคกลาง ในฐานะที่สภาอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานีเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม คณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมภาคกลาง ครั้งที่ 6/2566 ต่อมา ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้นำเสนอบริการของทาง สวทช. ที่จะสามารถช่วยพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เข้าสู่ อุตสาหกรรม 4.0 โดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พัฒนาจาก ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC)
“ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน หรือ Sustainable Manufacturing Center (SMC) อยู่ภายใต้การดูแลของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi และเป็นกิจกรรมหลักภายใต้เมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ (ARIPOLIS) มุ่งเน้นการพัฒนาแพลตฟอร์มที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ผู้พัฒนาระบบ นวัตกร นักวิจัยตลอดจนนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ผ่านกิจกรรมต่างๆ ทั้งในรูปแบบการสาธิต การเรียนรู้และการทดลองปฏิบัติจริง รวมไปถึงกิจกรรมวิจัยเพื่อการสร้างนวัตกรรม SMC ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย เพื่อมุ่งไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) และส่งแรงขับเคลื่อนถึงการเป็นประเทศเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม (Thailand 4.0) ” ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย กล่าว
ต่อมาเวลา 14.30 น. นายสุรชัย โสตถีวรกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคกลาง ได้กล่าวเปิดประชุม คณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมภาคกลาง โดยได้รับเกียรติจาก นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรยายถึงสภาวะอุตสากรรมของไทย และกิจกรรมสำคัญต่างๆ ในการผลักดันของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะความร่วมมือกับ สวทช. และกองทุนนวัตกรรมมูลค่า 2,000 ล้านบาท ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่กำลังจะเกิดขึ้น และได้เชิญชวนผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านร่วมงาน มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรมประจำปี 2566 (TRIUP FAIR 2023) ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 19 กรกฏาคม 2556 ณ สยามพารากอนฮอล ในงานจะได้พบกับผลงานวิจัยและนวัตกรรมกว่า 300 ผลลงาน การให้คำปรึกษาจากหน่วยงานต่างๆ กว่า 60 หน่วยงาน เช่นทุนวิจัย สินเชื่อนวัตกรรม ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ การอบรมที่เกี่ยวกับการรับรองมาตรฐาน ทรัพย์สินทางปัญญา การ Pitching โดย Shark Tank Thailand และ PMU-C หลังจากนั้นที่ประชุมคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมภาคกลาง ได้หยิบยก ประเด็นการพัฒนาและปัญหาของภาคอุตสาหกรรมซึ่งหลายพื้นพี่มีปัญด้านผังเมืองที่ประชุมจึงแนะนำให้ภาคเอกชนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองรวมในแต่ละจังหวัดเพื่อจะได้มีเวทีในการพูดคุยกับภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จังหวัดสระบุรีมีแผนที่จะเสนอให้ทางจังหวัดบูรณาการจัดทำ Solar Floating ขึ้นบนสระกักเก็บน้ำบริเวณศาลากลางแห่งใหม่ ในส่วนกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ซึ่งประกอบด้วย 4 จังหวัด คือ สมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม และปทุมธานี มีประเด็นหารือที่ประชุมเรื่องการกำจัดของเสียจากอุตสาหกรรม การจัดการน้ำเสีย การจัดการน้ำมันใช้แล้วตามคำสั่งสำนักงานพลังงานจังหวัด
ในส่วนของจังหวัดปทุมธานี นายสมควร จันทร์แดง ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานีได้แถลงต่อที่ประชุมว่าทางสภาฯ กำลังขับเคลื่อนโครงการสำคัญ
1)โครงการซีเอ็นซีรีโทรฟิต เพื่อเป็น Circular Economy นำเครื่องจักรซีเอ็นซีที่เสือมสภาพหรือไม่สามารถใช้งานได้แล้วกลับมาทำให้ใช้ได้เหมือนใหม่อีกครั้ง
2)โครงการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรม ซึ่งทำร่วมกับ มทร.ธัญบุรี เพื่อสร้าง Eco-Innovative System ที่เอื้อต่อการเริ่มธุรกิจของนักธุรกิจนวัตกรรมรุ่นใหม่ อันจะเป็นฟันเฟืองตัวใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของปทุมธานี และโครงการที่
3)สร้างช่างแมคคาทรอนิกส์ 1,200 ราย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการปรับไลน์การผลิตเป็นอัตโนมัติทั่วทั้งจังหวัดโดยเร็วและเป็นการ Up Skill ทางเทคโนโลยีอัตโนมัติครั้งใหญ่ของจังหวัดปทุมธานี
การประชุมปิดลงในเวลา 17.00 น.